ความเป็นมาของการทำเกษตรแบบทฤษฎีใหม่
ขอบคุณรูปภาพจาก : https://media.thaigov.go.th/uploads/thumbnail/news/2017/06/4227_001-1.jpg
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จเยี่ยมราษฎรที่บ้านกุดตอแก่น
ตำบลกุดสินคุ้มใหญ่ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2535
ได้ทรงเห็นสภาพความยากลำบากของราษฎรในการทำการเกษตรในพื้นที่อาศัยน้ำฝน
(ปลูกข้าวได้ประมาณ 1 ถังต่อ 1 ไร่) เพาะปลูกได้ปีละครั้งในช่วงฤดูฝนเท่านั้น มีความเสี่ยงในการเสียหายจากความปรวนแปรของดินฟ้าอากาศและฝนทิ้งช่วง
ซึ่งสภาพดังกล่าวยังคงเป็นปัญหาของเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศ
แม้ว่าจะมีการขุดบ่อน้ำเก็บน้ำไว้บ้างก็มีขนาดไม่แน่นอน น้ำใช้ยังไม่พอเพียง
รวมทั้งระบบการปลูกพืชไม่มีหลักเกณฑ์และส่วนใหญ่ปลูกพืชชนิดเดียวด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
จึงทรงได้ศึกษารวบรวมข้อมูลนำมาวิเคราะห์และได้พระราช ทานพระ
ราชดำริเพื่อให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤติการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อน
และยากลำบากนักพระราช ดำรินี้ทรงเรียกว่า "ทฤษฎีใหม่"
อันเป็นแนวทางการจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โดยทรงทดลองเป็นแห่งแรกที่วัดมงคลชัยพัฒนา ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี
ในทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศนั้นได้ทรงถามเกษตรกร
และทอดพระเนตรพบสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการปลูกข้าวและเกิดแรงดลพระทัยอันเป็นแนวคิดขึ้นว่า
1.
ข้าวเป็นพืชที่แข็งแกร่งมาก
หากได้น้ำเพียงพอจะสามารถเพิ่มเมล็ดข้าวได้มากยิ่งขึ้น
2.
หากเก็บน้ำในที่ตกลงมาได้แล้วนำมาใช้ในการเพาะปลูกก็จะสามารถเก็บเกี่ยวได้มากขึ้นเช่นกัน
3.
การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่นับวันแต่จะยากที่จะดำเนินการได้
เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนและข้อจำกัดของปริมาณที่ดินเป็นอุปสรรค
4.
หากแต่ละครัวเรือนมีสระนำประจำไร่นาทุกครัวเรือนแล้ว
เมื่อรวมปริมาณกันก็ย่อมเท่ากับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่แต่สิ้นค่าใช้จ่ายน้อยและเกิดประโยชน์สูงสุดโดยตรงมากกว่า
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://teerachonkaewpreecha.blogspot.com/p/new-theory-farming.html
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น